ห้องทัศนาภาพสะท้อนมองวิถี แรกมีภาพถ่ายในสยาม
วิชาการถ่ายรูปนั้นได้เข้าถึงเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่
๓ ซึ่งในสมัยนั้นคนไทยทั่วๆไป
ยังถือการปั้นรูปถอดรูปว่าเป็นการทอนอายุให้สั้นลงจึงไม่มีผู้ใดเอาใจใส่จนถึงรัชกาลที่
๔ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย
ดิศกุล
การถ่ายภาพ
เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนได้ชัดเจนที่สุด
แต่กลับไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยใด
สันนิษฐานว่า สังฆราชปาลเลอกัว
เป็นผู้ที่นําวิชาถ่ายภาพเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นคนแรกในสมัยรัชกาลที่
๓ ส่วนช่างภาพชาวไทยคนแรก คือ
พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)
นับแต่นั้นมาวิชาการถ่ายภาพก็ได้เริ่มแพร่หลายเข้าสู่เมืองไทย
กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
เพื่อพระราชทานให้ประธานาธิบดีแฟรงคลิน
เพียร์ซ แห่งสหรัฐ อเมริกา
การถ่ายภาพจึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง
ภายหลังก็ปรากฏว่ามีการเปิดร้านรับถ่ายรูปของชาวต่างชาติชื่อ
เอแซกเลอร์ และร้านของหลวงอัคนี้นฤมิตร
(จิตร จิตราคนี)
นับเป็นร้านถ่ายรูปรุ่นแรกในเมืองไทย
ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ถือเป็นยุคหนึ่งที่วิชาการถ่ายรูปได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ด้วยพระราชนิยมใน
“การเล่นกล้อง” ทรงศึกษา
ค้นคว้า ทดลองในเรื่องเหล่านี้
จนเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติได้ด้วยพระองค์เอง
ส่งผลให้เป็นกระแสความนิยมในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์
จนเมื่อถึงงานฤดูหนาววัดเบญจมบพิตรได้ทรงเปิดร้าน
ถ่ายรูปหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าเคยมีการประกวดรูปถ่ายและการจัดแสดงภาพถ่ายจากผู้มีฝีมือด้วย ฉายฉานความงามแห่งชีวิต
“...บัดนี้ได้ส่งกล้องนั้นมา 6
กล้อง คือของเธอ 1 กล้อง ของหญิงกลาง 1
กล้อง หญิงน้อย 1 กล้อง นางเอิบ 1 กล้อง
นางเอื้อน 1 กล้อง นางสดับ 1
กล้อง...”
พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕
ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดํารงราชานุภาพ การเล่นกล้อง
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน
ซึ่งปรากฏว่า
หลายพระองค์มีความรู้และชํานาญเป็นอย่างดี
เช่น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรประพันธ์รําไพ
และพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภามักทรงถ่ายรูปพระญาติ
และข้าหลวงเพื่อฝึกฝน อยู่เสมอเจ้าจอมเอิบ
และเจ้าจอมเอื้อน
เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในทางเทคนิค
การถ่ายรูป
และสามารถล้างภาพได้ด้วยตนเอง ห้องทัศนาราชภัสตราภรณ์ ทัศนาพัสตราภรณ์ จารีตประเพณี
แบบแผนแห่งแพรพรรณ
แม้ราชสํานักฝ่ายในจะมีโอกาสได้สัมผัสกับวัฒนธรรมตะวันตก
นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมา แต่ในอีก
ด้านหนึ่งยังคงอยู่ในจารีตประเพณีอันเคร่งครัด
โดยเฉพาะการแต่งกายที่ยังคงรูปแบบเดิมเฉกเช่นทุกรัชกาล
ที่ผ่านมา
ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
การแต่งกายแบบขัตติยนารี
ได้พัฒนารูปแบบขึ้น
จากการนําเครื่องแต่งกายของสตรีชาวตะวันตกมา
ผสมผสานกับรูปแบบเครื่องแต่งกายสตรีไทยโบราณโดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทยและสวยงามตามสมัยนิยม
การแต่งกายสีประจําวัน
เป็นการแต่งกายโดยการนุ่งห่มสีตัดกันที่เชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องโชคลาง
อันเป็นเอกลักษณ์ของสตรีในราชสํานัก
การแต่งกายในพระราชพิธีโสกันต์จัดว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษ
ด้วยระเบียบแบบแผนอันเคร่งครัด
ที่แฝงคติความเชื่อเรื่องการก้าวผ่านจากความเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่
จึงจําต้องมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน
การแต่งกายไว้ทุกข์
ในอดีตมีการกําหนดสือย่างชัดเจน คือ สีดํา
สําหรับผู้มีอายุมากกว่าผู้ตาย สีขาว
สําหรับผู้เยาว์หรืออ่อนกว่าผู้ตาย
และสีม่วงหรือสีน้ำเงินแก่
สําหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตาย
แต่ประการใดแต่ทั้งนี้ก็อาจมีการปรับไปตามกาลสมัย สายธารวัฒนธรรม
ลํานําความเป็นสมัยใหม่
ในระยะหลังการแต่งกายของสตรีราชสํานักฝ่ายใน
ได้เปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเต็มตัว
ซึ่งการแต่งกายมิใช้เฉพาะออกงานหรือถ่ายรูปเท่านั้นแต่เป็นการปรับให้เข้ากับการดํารงชีวิตประจําวัน
โดยเฉพาะการหันมานุ่งชื่นแทนโจงกระเบน
ตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๖
การสวมเสื้อไม่มีแขน
และการนุ่งกระโปรงในสมัยรัชกาลที่ ๗
ซึ่งเป็นต้นแบบของการแต่งกาย
สตรีในยุคนั้น
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการแต่งกายของสตรีในราชสํานักเป็นภาพสะท้อนให้เห็นการผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก
ที่แสดงให้เห็นบทบาท
ของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น
ฉะนั้นการเลือกสรรเครื่องแต่งกาย
จึงเป็นเรื่องสําคัญยิ่งเพื่อให้นานาประเทศเห็น
“ความศิวิไลซ์”
“หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณก็ทรงอยู่ในประเภทผู้หญิงที่รักสวยรักงาม
ผ้าทรงโดยมาก
ใช้ผ้ายกใหมแบบนุ่งโจงกระเบนและผ้าม่วงดอกฉลององค์ชั้นนอกแหม่มห้างแบดแมนเป็นผู้เย็บ
ส่วนรองบาทนั้นมีทั้งหนังและแพรต่วนสีต่าง
ๆ
เข้ากับชุดเสื้อผ้าเย็บมาจากห้างยอห์นแซมสัน
สวยไม่แพ้เกือกห้างวินเตอร์
ของประเทศอังกฤษ...” หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม
ดิศกุล ห้องพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา
“
เสด็จองค์อาทรฯ ทรงกอปรไปด้วยพระเมตตา
และทรงเป็นผู้นําที่เข้มแข็งเด็ดขาดเยี่ยงชาย
ข้าราชบริพารในขพระตําหนักต่างครันคร้ามกันมาก
แต่ขณะเดียวกันเขาเหล่านั้นก็เคารพรัก
พระองค์
ศรัทธาและภักดีต่อพระองค์ท่านอย่างแน่นแฟ้น
การเลี้ยงเด็กนั้นเป็นที่โปรดปรานมาก
จึงเกิดโรงเรียนใต้ถุนพระตําหนักเสด็จองค์อาทรฯ
เพื่อให้การศึกษากับเด็กๆเหล่านั้น” ม.ร.ว. เบญจาภา
(จักรพันธุ์) ไกรฤกษ์ ภริยาคุณศักดิ์ทิพย์
ไกรฤกษ์ บุตรชายคุณพูนเพิ่ม
ไกรฤกษ์หรือตาหมูของเสด็จองค่อาทรฯ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว Her Royal
Highness Princess Adorndipyanibha was a
daughter of King Chulalongkorn (King
Rama 5) กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม
ไกรฤษ์)
ประสูติเมื่อวันประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่
๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ มีพระขนิษฐา
ร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสุจิตรากรณี
สมัยทรงพระเยาว์
ทรงได้รับการศึกษาตามจารีตประเพณี
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ออกนอกเขตพระราชฐานชั้นในบ่อยครั้งจึงทรงมีโลกทัศน์ที่กว้างขวางทันสมัยผู้หนึ่ง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ได้เสด็จมาประทับในสวนสุนันทา
ด้วยความสนพระทัยในทางดนตรีและนาฏศิลป์จึงได้จัดตั้งวง
เครื่องสายผสมและคณะละครขึ้นในที่ประทับนอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณใต้ถุนตําหนักสําหรับเป็นที่เล่าเรียนของพระญาติและข้าหลวงในพระองค์
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง .ศ. ๒๔๗๕
จึงทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกไปประทับที่วังถนนราชวิถีนอกสวนสุนันทาหลังจากนั้นเป็นเวลา
5 ปี ทรงสร้างตําหนัก ขึ้นชื่อว่า
ตําหนักทิพย์
วังใหม่นี้เป็นที่อุ่นหนาฝาคั่งผู้คนด้วยเหตุที่ตั้งอยู่ติดกับบ้านของพระญาติ
อาทิ พระยาบุรุษ รัตนราชพัลลภ (เพิ่ม
ไกรฤกษ์) และพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม
ไกรฤกษ์)
ในระยะหลัง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
wระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
ทรงมีพระศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา เสด็จไป
ทรงสดับพระธรรมเทศนาที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นประจํา
ทรงช่วยเหลือกิจการของวัดอย่างสม่ำเสมอและทรงสร้าง
กุฏิถวายพระสงฆ์
ซึ่งยังคงปรากฏภาพสลักนูนต่ําของพนะองคอยู่บริเวณหน้าคณะกุฏิในปัจจุบัน
ในอวสานแห่งพระชนม์ชีพ
ประชวรพระโรคพระวักกะพิการมาเป็นเวลานาน
ครั้นวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
ก็สิ้นwระชนม์ เวลา ๓ นาฬิกาเศษ
โดยพระอาการสงบ ณ ตําหนักทิพย์
ถนนราชวิถีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๙
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานเพลิงพระศพ
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ณ
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส